ผู้ป่วย “โรคไต” กับอาหารที่ควรรับประทานและไม่ควรรับประทาน การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคประจำตัวยิ่งต้องดูแลใส่ใจเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหารเป็นพิเศษ ในแต่ละวันควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และระมัดระวังในการเลือกชนิดอาหาร ก่อนที่เราจะไปรู้จักอาหารทั้ง 5 อย่าง ไปเรียนร็โรคไตกันก่อนดีกว่า ว่าอาการเป็นอย่างไร แต่ไตทำหน้าที่อะไรบ้าง
ผู้ป่วย “โรคไต” กับอาหารที่ควรรับประทานและไม่ควรรับประทาน
โรคไต (Kidney disease)
โรคไต เกิดจาก ความผิดปกติของไตที่ไม่สามารถกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้ โดยปกติทั่วไปไตมีหน้าที่คัดกรองสารอาหารต่าง ๆ ภายในเลือดและกำจัดของเสียจากเลือดและน้ำส่วนเกินออกมาในรูปแบบปัสสาวะ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะได้น้อยลง เป็นต้น
ไตมี 2 ข้าง อยู่บริเวณด้านหลัง ใต้ชายโครง บริเวณบั้นเอว มีรูปร่างคล้ายถั่วเหลือง ยาวประมาณ 12เซนติเมตร ไต ประกอบด้วยหลอดเลือดฝอยมากมาย เรียกว่า “หน่วยไต” (Nephron) โดยหน่วยไตจะลดจำนวน และเสื่อมสภาพตามอายุไข

ไตทำหน้าที่อะไร ?
- กำจัดของเสีย
- ดูดซึม และเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
- รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย
- รักษาสมดุลเกลือแร่ของร่างกาย
- รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย
- ควบคุมความดันโลหิต
- สร้างฮอร์โมน
- กำจัดของเสีย ได้แก่ ยูเรีย ครีเอดินิน
- เมื่อร่างกายได้รับสารอาหาร จะย่อยสลาย นำส่วนที่เป็นประโยชน์ไปใช้ และปล่อยของเสียออกสู่กระแสเลือด ผ่านมายังไต และถูกขับออกมากับปัสสาวะ
- ขับยา และสารแปลกปลอมอื่น ๆ
- ดูดซึม และเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายไว้
- สารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย จะถูกดูดกลับโดยเซลล์ของหน่วยไตเช่น น้ำ ฟอสเฟด โปรตีน
ขอแนะนำ 8 ร้านทองดัง น่าซื้อปี 2020 ช่วงนี้กระแสการซื้อทองนั้นถือว่ามาแรงมาก ๆ เลยค่ะ เพราะไม่ว่าใครต่างก็ต้องการซื้อทองเอาไว้เก็งกำไรกันทั้งนั้น เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาราคาทองคำนั้นพุ่งสูงในรอบบหลาย 10 ปี ซึ่งถือว่าสูงสุดที่มีการซื้อขายมาเลยทีเดียว

- รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย
- ถ้าน้ำมีมากเกินความต้องการของร่างกาย ไตจะทำหน้าที่ขับน้ำออกมาทางปัสสาวะ
- ถ้าอยู่ในภาวะขาดน้ำ ไตจะพยายามสงวนน้ำไว้ให้ร่างกาย ปัสสาวะจะมีปริมาณน้อยและเข้มข้น
- รักษาสมดุลเกลือแร่ของร่างกาย
- ไตที่ปกติจะขับเกลือส่วนเกินได้เสมอ แม้จะรับประทานรสเค็มจัด
- แต่ถ้าเสื่อมสมรรถภาพ ผู้ป่วยจะมีอาการบวมถ้ารับประทานเกลือมากเกินไป
- รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย
- ร่างกายจะผลิตกรดทุกวัน จากการเผาผลาญอาหารโปรตีน
- ถ้าไตทำหน้าที่ปกติ จะไม่มีกรดคั่ง
- ถ้าไตเสื่อมสมรรถภาพ ร่างกายจะมีปัสสาวะเป็นกรด
- ควบคุมความดันโลหิต
- ความดันโลหิตสูง เกิดจากความผิดปกติในการควบคุมสมดุลน้ำ และเกลือ รวมถึงสารบางชนิด
- ผู้ป่วยโรคไต จึงมักมีความดันโลหิตสูง เพราะไตถูกกระตุ้นให้สร้างสารที่ทำให้ความดันสูง
- ถ้าความดันโลหิตสูงมาก ทำให้หัวใจทำงานหนัก หรืออาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือแตก เป็นอัมพฤกษ์ และอัมพาตได้
- สร้างฮอร์โมน
- ไต ปกติสามารถสร้างฮอร์โมนได้หลายชนิด
- ถ้าเป็นโรคไต การสร้างฮอร์โมนจะบกพร่องไป
วันนี้เราได้นำ 5 อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต มาฝากกันค่ะ รวมถึงอาหารที่ผู้ป่วยโรคไตต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือมีอาการแย่ลงกว่าเดิม
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต
การรับประทานอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสมอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยชะลอความเสื่อมของไตได้ นอกจากนี้คุณควรปรึกษาแพทย์และนักโภชนาการเพื่อรับคำแนะนำในการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรค เช่น การจำกัดปริมาณฟอสฟอรัสและแคลเซียม ลดการบริโภคโพแทสเซียม เป็นต้น
การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อไต อาจช่วยให้ไตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยชะลอและลดความเสื่อมของไต ซึ่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อไต มีดังต่อไปนี้
- ปลากะพงขาว
ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคไต การรับประทานปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 จะช่วยลดระดับไขมันในเลือดและควบคุมความดันโลหิต แต่ไม่ควรรับประทานมากจนเกินไปเพื่อรักษาระดับฟอสฟอรัสในร่างกาย
ปลากะพงขาวสุก ปริมาณ 85 กรัม ประกอบด้วย
- โซเดียม 74 มิลลิกรัม
- โพแทสเซียม 279 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 211 มิลลิกรัม
- องุ่นแดง

นอกจากรสชาติที่อร่อย หวาน ขององุ่นแดงแล้ว ยังอุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ มีวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระ ที่เรียกว่า สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบ และยังมีประโยชน์ต่อการบำรุงสุขภาพหัวใจ
องุ่นแดง ปริมาณ 75 กรัม ประกอบด้วย
- โซเดียม 1.5 มิลลิกรัม
- โพแทสเซียม 144 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 15 มิลลิกรัม
- ไข่ขาว
ถึงแม้ว่าไข่แดงจะอุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าไข่ขาว แต่ไข่แดงมีปริมาณฟอสฟอรัสสูงกว่า การเลือกรับประทานไข่ขาวจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า ไข่ขาวอุดมไปด้วยโปรตีนซึ่งมีประโยชน์อย่างมากต่อการบำรุงไต โดยเฉพาะในผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกไต ซึ่งมีความต้องการสารอาหารประเภทโปรตีน
ไข่ขาว 2 ฟองใหญ่ ปริมาณ 66 กรัม ประกอบด้วย
- โซเดียม 110 มิลลิกรัม
- โพแทสเซียม 108 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม
- กระเทียม
ผู้ที่เป็นโรคไตจำเป็นต้องจำกัดปริมาณโซเดียมเพื่อไม่ให้ไตทำงานหนัก การรับประทานกระเทียมจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเพิ่มรสชาติอาหารแทนเกลือหรือน้ำปลา นอกจากนี้กระเทียมยังอุดมด้วยวิตามินซี และวิตามินบี 6 ซึ่งมีสารประกอบที่เรียกว่า กำมะถัน มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ
กระเทียม 3 กลีบ 9 กรัม ประกอบด้วย
- โซเดียม 1.5 มิลลิกรัม
- โพแทสเซียม 36 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 14 มิลลิกรัม
- น้ำมันมะกอก
น้ำมันมะกอกเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพในการนำมาปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต เพราะ น้ำมันมะกอกมีไขมันอิ่มตัวเชิงเดียว ที่เรียกว่า กรดโอเลอิก (Oleic acid) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ
น้ำมันมะกอก 1 ช้อนโต๊ะ ปริมาณ 13.5 กรัม ประกอบด้วย
- โซเดียม 0.3 มิลลิกรัม
- โพแทสเซียม 0.1 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 0 มิลลิกรัม

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ป่วยโรคไต มีดังนี้
- อาหารที่มีปริมาณฟอสฟอรัส และแคลเซียมสูง
การรับประทานอาหารที่มีปริมาณฟอสฟอรัสสูง อาจทำให้ไตเสื่อมสภาพได้ไวยิ่งขึ้น เช่น
- ผลิตภัณฑ์ประเภทนม
- พืชตระกูลถั่ว ธัญพืช
- เนื้อสัตว์ตระกูลสัตว์ปีกและปลา
- อาหารที่มีปริมาณด้วยโพแทสเซียมสูง
ถึงแม้ว่าโพแทสเซียมจะมีส่วนช่วยบำรุงระบบประสาทและกล้ามเนื้อ หากคุณเป็นโรคไตการบริโภคอาหารที่มีปริมาณโพแทสเซียมสูงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนนำไปสู่โรคหัวใจได้ เช่น
- มะเขือเทศ
- แครอทดิบ
- ตระกูลผักใบเขียว (ยกเว้นผักคะน้า)
- แตงโม
อย่างไรก็ตามแม้ว่าโดยทั่วไปแล้วอาหารบางชนิดจะช่วยบำรุงไตให้แข็งแรง แต่ก็ไม่ได้เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคไตทั้งหมด ดังนั้นคุณควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง
อ่านบทความเพิ่มเติม ได้ที่ : หนังใหม่ปี 2020 ที่คุณต้องห้ามพลาด